081-359-7691
sale@crmultra.com
Menu
Home
Products
Customer Management
Activity Management
Sales Force Automation
Marketing Management
Service Management
Approve Center
Reports & Dashboards
Services
อบรมสัมมนา
คู่มือการใช้งาน
วิดีโอสอนการใช้งาน
คำถามที่พบบ่อย FAQs
นโยบายการรักษาข้อมูล
เงื่อนไขการให้บริการ
วิธีการสั่งซื้อและชำระเงิน
ดาวน์โหลด
More
ข่าวสาร
บทความที่น่าสนใจ
Blog
Contact Us
081-359-7691
sale@crmultra.com
หน้าแรก
บทความที่น่าสนใจ
เช็กให้ดีก่อนยื่นภาษี ปี 2566 นี้ ลดหย่อนอะไรได้บ้าง
เช็กให้ดีก่อนยื่นภาษี ปี 2566 นี้ ลดหย่อนอะไรได้บ้าง
ย้อนกลับ
หน้าแรก
บทความที่น่าสนใจ
เช็กให้ดีก่อนยื่นภาษี ปี 2566 นี้ ลดหย่อนอะไรได้บ้าง
เช็กให้ดีก่อนยื่นภาษี ปี 2566 นี้ ลดหย่อนอะไรได้บ้าง
ย้อนกลับ
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการยื่นภาษี 2566
คนไทยทุกคนที่มีเงินได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่จะเสียภาษีหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับเงินได้สุทธิของตนเอง ซึ่งคิดจากการนำเงินได้ทั้งปี หักค่าใช้จ่าย และหักลดหย่อนภาษีที่มีทั้งหมด โดยเงินได้ทั่วไป (เงินเดือน โบนัส หรือค่าจ้าง) สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
หากรายได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท ก็จะได้รับการยกเว้นภาษี แต่ถ้าเกินกว่านั้น ก็จะเสียภาษีในอัตราเริ่มต้น 5% และจะสูงขึ้นตามอัตราภาษีแบบขั้นบันได แต่รายการลดหย่อนภาษีจะช่วยทำให้รายได้สุทธิให้ลดลง จึงเสียภาษีน้อยกว่าคนที่ไม่มีรายการลดหย่อนภาษีเลย
กลุ่มส่วนตัวและครอบครัว
รายการพื้นฐานที่ใช้ลดหย่อนภาษี 2566
1. ลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
2. คู่สมรส 60,000 บาท
คู่สมรสที่จดทะเบียนตามกฎหมายกำหนด
คู่สมรสเป็นผู้ไม่มีเงินได้ปีนั้น หรือรวมยื่นแบบ
3. บุตร คนละ 30,000 บาท (คนที่ 2 ขึ้นไป เกิดตั้งแต่ปี 2561 ลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท)
เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือบุตรบุญธรรมที่จดทะเบียนรับเป็นบุตรบุญธรรมแล้ว
อายุไม่เกิน 20 ปี หรือ อายุไม่เกิน 25 ปีกรณีกำลังศึกษาอยู่ หรืออายุเกิน 25 ปีแต่เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
มีเงินได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และต้องอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้
บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย ลดหย่อนตามจำนวนบุตรจริง บุตรบุญธรรม ลดหย่อนคนละ 30,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 3 คน
4. ค่าเลี้ยงดูบิดามารดาของตนเองและคู่สมรส คนละ 30,000 บาท รวมไม่เกิน 120,000 บาท
บิดามารดาอายุ 60 ปี ขึ้นไป มีเงินได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และต้องอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้
ต้องมีหนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา (แบบ ล.ย.03)
ห้ามใช้สิทธิลดหย่อนซ้ำระหว่างพี่น้อง
5. ค่าเลี้ยงดูผู้พิการหรือบุคคลทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท
ผู้พิการต้องมีเงินได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี
กรณีผู้พิการ ต้องมีบัตรประจำตัวผู้พิการ
กรณีผู้ทุพพลภาพ ต้องมีหนังสือรับรองจากแพทย์ว่าเป็นผู้ทุพพลภาพ
ต้องมีหนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะ (แบบ ล.ย. 04)
กรณีผู้พิการหรือทุพพลภาพ เป็นบิดา มารดา บุตร หรือคู่สมรส สามารถใช้สิทธิลดหย่อนตามสถานะได้ทั้งส่วนนั้น และลดหย่อนในฐานะผู้พิการหรือทุพพลภาพอีกส่วน
6. ค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร หักลดหย่อนได้ตามจริง แต่เมื่อรวมกับสิทธิสวัสดิการจากภาครัฐหรือภาคเอกชนที่ผู้มีเงินได้และคู่สมรสได้รับแล้ว ต้องไม่เกิน 60,000 บาท
กลุ่มประกันและลงทุน
1. ประกันชีวิต และประกันสะสมทรัพย์ หักลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
ต้องมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป ทำประกันกับบริษัทประกันชีวิตในไทย
กรณีเวนคืนกรมธรรม์ก่อนครบ 10 ปี จะถือว่าผิดเงื่อนไข
2. ประกันสุขภาพ หรือประกันอุบัติเหตุที่คุ้มครองสุขภาพ หักลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท
เมื่อรวมกับประกันชีวิตและประกันสะสมทรัพย์แล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท
3. ประกันสังคม หักค่าลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 9,000 บาท
4. ประกันสุขภาพบิดามารดา หักลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท
บิดามารดา มีเงินได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี
ไม่ต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไปก็ได้
5. ประกันชีวิตแบบบำนาญ หักลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
ต้องมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป ทำประกันกับบริษัทประกันชีวิตในไทย
มีการจ่ายผลประโยชน์เป็นรายงวดอย่างสม่ำเสมอ และต้องกำหนดช่วงอายุของการจ่ายเมื่อผู้มีเงินได้อายุตั้งแต่ 55-85 ปีขึ้นไป
6. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) หักลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
ต้องถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันซื้อครั้งแรก และไถ่ถอนเมื่ออายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์
7. กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) หักลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
ต้องถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 10 ปี นับแต่วันซื้อครั้งแรก
8. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) หักลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 15% ของค่าจ้าง สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
9. กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) หรือ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน หักลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
10. กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) หักลดหย่อนได้ตามจริง (ปัจจุบันคือ 30,000 บาท) สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
หมายเหตุ :
ประกันชีวิตแบบบำนาญ + RMF + SSF + PVD + กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน + กบข. + กอช. รวมกันทั้งหมดต้องไม่เกิน 500,000 บาท
11. เงินลงทุนธุรกิจ Social Enterprise (วิสาหกิจเพื่อสังคม) หักลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
กลุ่มเงินบริจาค
1. เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา และสถานพยาบาลของรัฐ ลดหย่อนได้ 2 เท่า สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อนอื่น
กรณีบริจาคเพื่อการศึกษาและการกีฬา หักลดหย่อนได้ 2 เท่า ต้องบริจาคผ่านระบบ e-Donation มิฉะนั้นจะหักลดหย่อนได้เพียง 1 เท่า
2. เงินบริจาคทั่วไป ลดหย่อนได้ 1 เท่า สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อนอื่น
3. เงินบริจาคให้กับพรรคการเมือง ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท เริ่มตั้งแต่ 1 ม.ค. 2561 เป็นต้นไป
กลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจ
1. ช้อปดีมีคืน หักลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 40,000 บาท
ซื้อสินค้าและบริการในประเทศ มีหลักฐานใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีแบบกระดาษ ลดหย่อนได้ไม่เกิน 30,000 บาท กรณีใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี อิเล็กทรอนิกส์ ลดหย่อนได้เพิ่มอีก 10,000 บาท รวมเป็น 40,000 บาท
ต้องเป็นสินค้าและบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สินค้า OTOP และสินค้าหมวดหนังสือ (รวมถึง E-Book)
ต้องเป็นค่าสินค้าหรือค่าบริการ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 15 ก.พ. 2566
2. ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัย หักลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
ขอบคุณที่มาจาก : www.scb.co.th
172
ผู้เข้าชม
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น
นโยบายคุกกี้
ตั้งค่าคุกกี้
ยอมรับทั้งหมด
×
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน
คุกกี้ในส่วนการตลาด
คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com