"Burnout" รู้ทันก่อนสาย

"Burnout" รู้ทันก่อนสาย




มารู้จักกับ BURNOUT อาการที่หลายๆคนคุ้นหู และไม่อยากที่จะเป็น 

Burnout Syndrome (เบิร์นเอาท์ ซินโดรม) คือ การเหนื่อยล้าจากการทำงานหนักที่มากเกินไป หรือหมายถึงภาวะที่บุคคลรู้สึกหมดแรงจากความเครียดสะสมอันเนื่องมาจากการทำงาน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพกาย และสุขภาพจิต เบิร์นเอ้าท์เป็นอาการที่พบได้บ่อยของการเหนื่อยล้าจากการทำงานหนักเกินไปนั่นเอง





จะรู้ได้อย่างไรว่าเราเข้าข่ายเบิร์นเอาท์หรือไม่ ดูได้จากอาการต่างๆที่เกิดขึ้นดังต่อไปนี้...





รู้สึกเหนื่อยล้าทางอารมณ์ และหมดพลัง (Emotional Exhaustion)

ภาวะนี้เกิดจากการทำงานหนักจนเกินกว่าจะรับไหวได้เป็นระยะเวลานาน ร่วมกับการขาดสมดุลของชีวิต และปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ทำให้บุคคลรู้สึกถูกดูดพลังงานทางอารมณ์และจิตใจจนหมดสิ้น ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการพักผ่อนและฟื้นฟู มิเช่นนั้นอาจนำไปสู่ผลกระทบด้านสุขภาพใจและสุขภาพกายที่รุนแรงได้ สังเกตได้จากอาการดังต่อไปนี้

1. รู้สึกว่าอารมณ์และจิตใจของตนเองถูกกัดกร่อนจนแทบจะหมดแรงกายแรงใจ ไม่มีพละกำลังที่จะทำงานต่อไป

2. ขาดความสามารถในการรับมือกับความเครียดและความกดดันทั้งจากงานและเรื่องส่วนตัว

3. รู้สึกหมดไฟ ไม่มีแรงกระตุ้น ขาดพลังในการดำเนินชีวิต

4. อาจมีอาการซึมเศร้า วิตกกังวล ความรู้สึกไร้ค่า ไม่มีประโยชน์ ไร้พลัง

5. ขาดความอดทน อารมณ์แปรปรวนง่าย อาจระเบิดอารมณ์โกรธหรือเศร้าได้ง่าย





เหินห่างจากงานและเพื่อนร่วมงาน หรือรู้สึกอคติ และมีทัศนคติเชิงลบต่องาน (Cynicism)


ภาวะนี้เป็นผลมาจากความเหนื่อยล้าทางอารมณ์และการคาดหวังที่สูงเกินไปกับงาน เมื่อสะสมเป็นเวลานาน จึงส่งผลให้บุคคลมีทัศนคติเชิงลบ ไม่มีแรงจูงใจ และเหินห่างออกจากงาน ซึ่งนำไปสู่ปัญหาในการทำงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สังเกตได้จากอาการดังต่อไปนี้

1. รู้สึกเฉื่อยชา เบื่อหน่าย ไม่มีความกระตือรือร้นกับงานที่ทำเหมือนแต่ก่อน

2. มองงานในแง่ลบ รู้สึกว่างานนั้นไร้ประโยชน์และไม่มีคุณค่า

3. สูญเสียความภาคภูมิใจและจุดหมายในการทำงาน

4. หลีกเลี่ยงการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและลูกค้า ปฏิเสธที่จะทำงานเป็นทีม

5. มีทัศนคติเชิงลบ ระแวงสงสัย ตั้งรับกับเพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน หรือองค์กร

6. มีความรู้สึกเหินห่างจากงานและองค์กร ขาดความผูกพันและจงรักภักดีต่อองค์กร

7. ทำงานเพียงแค่ปฏิบัติตามหน้าที่ไปวัน ๆ เท่านั้น ไม่ทุ่มเทให้งานอย่างเต็มที่





ความสามารถและประสิทธิภาพการทำงานลดลง (Professional Efficacy)

ภาวะเช่นนี้เป็นผลสืบเนื่องจากความเหนื่อยล้าทางกายและอารมณ์ อีกทั้งความทุ่มเทและการลงทุนทางจิตใจกับงานมากจนเกินไป เมื่อไม่เป็นไปตามที่คิดก็ไม่สามารถก้าวผ่านความรู้สึกด้านลบได้จนในที่สุดทำให้รู้สึกว่าตนเองไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งนำไปสู่ปัญหาและผลกระทบในการทำงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สังเกตได้จากอาการดังต่อไปนี้

1. รู้สึกว่าตนเองความรู้ความสามารถและศักยภาพในการทำงานลดลง ไม่สามารถทำงานให้ประสบความสำเร็จได้ดีเช่นเดิมได้

2. ประสิทธิภาพในการทำงานตกต่ำลง มีการทำผิดพลาดบ่อยครั้ง ขาดความละเอียดรอบคอบมากขึ้น

3. ความคิดสร้างสรรค์และแรงบันดาลใจในการทำงานลดน้อยลง

4. มองไม่เห็นคุณค่าหรือความหมายของงานที่ตนเองทำ รู้สึกไร้ประโยชน์ ด้วยค่าตนและงานตน

5. ไม่สามารถตั้งเป้าหมายและทำตามเป้าหมายในการทำงานได้

6. ขาดความมั่นใจ รู้สึกว่าตนเองล้มเหลวในการทำงาน แม้จะพยายามอย่างเต็มที่แล้วก็ตาม

7. มีความสามารถในการจดจำลดลง ทำให้เกิดปัญหาในการทำงานบ่อยครั้ง





ไม่ต้องตกใจหากคุณเองก็มีอาการดังกล่าวข้างต้น เพราะไม่ว่าใครก็อาจเกิดภาวะเบิร์นเอาท์ได้ แต่ก่อนจะ Burnout ไปมากกว่าเดิมจนไม่สามารถแก้ไขได้ เมื่อรู้ตัวแล้วให้พยายามแก้ไขปัญหาไปทีละเรื่อง

- พยายามหาสาเหตุที่แท้จริง

- หันมาใส่ใจดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจตนเอง

- หาเวลาชาร์จพลังทั้งกายและใจให้ตนเอง

- หากิจกรรมใหม่ๆทำ หรือทำกิจกรรมที่ตนเองชอบบ้างในเวลาว่าง

- ทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ


เพราะเบิร์นเอาท์เป็นอาการที่ควรให้ความใส่ใจมากกว่าที่คุณคิด ก่อนจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต





เมื่อใส่ใจดูแลตนเองอย่างสม่ำเสมอเพียงเท่านี้คุณก็ห่างไกลจากคำว่า Burnout ขอให้คุณมีวันที่ดีมีความสุข ด้วยรักจากโปรแกรมบริหารงานขาย CRM Ultra


แหล่งข้อมูลอ้างอิงเนื้อหาจาก ทีมแพทย์และทีมวิจัยจาก BDMS Wellness Clinic



 124
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์